ARTIST: Akiko
LABEL: Universal (056 877-3)
song: 10 sound: 8+
แผ่นธรรมดา-ผลิตในประเทศไทย
อีกทั้งต้นฉบับนั้นเป็นงานเพลงของคณะสี่เต่าทองที่ผมขอทึกทักเอาเองว่านักฟังเพลงทุกคนรู้จัก
นั่นการันตีได้ว่าอัลบั้มชุดนี้น่าจะได้รับการตอบรับที่ดีจากนักฟังทั่วไปอย่างแน่นอน
ทั้งอัลบั้มมีทั้งหมด
9 แทรค ประกอบด้วยเพลง (1) Can't Buy
Me Love (2) Norwegian Wood (3) Ob-la-di. Ob-la-da (4) Lady Madonna (5) Across
The Universe.. album version (6) Come Together (7) All You Need Is Love (8)
Here, There And Everywhere (9) Across The Universe ซึ่งส่วนใหญ่นั้นท่วงทำนองจะถูกคงไว้ แต่เสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้จะถูกเปลี่ยนแปลงไป
รวมถึงการเรียบเรียงด้วย
โดยรวมในแง่ของบทเพลงต้องถือว่าให้ความเพลิดเพลินในการรับฟังได้ดีมาก การเรียบเรียงดนตรีในหลายๆ
เพลงก็ทำได้น่าสนใจ
ที่สะดุดที่สุดสำหรับผมและต้องขอยกย่องให้เป็นแทรคแนะนำประจำอัลบั้มนี้ก็คือเพลง Norwegian
Wood แทรคที่สอง ให้อารมณ์เพลงที่ลึกลับ น่าติดตาม
ส่วนที่สองวิจารณ์ในส่วนของคุณภาพเสียง
- ซาวนด์เอนจิเนียร์ที่ทำหน้าที่บันทึกเสียงอัลบั้มชุดนี้มีอยู่ด้วยกัน 3 คน หลักๆ ก็คือ Yoshinori Waraya (แทรค 1, 3, 5-8) คนที่สองคือ Masateru Sakaeda (แทรค 4)
และ Bugge Wesseltoft (แทรค 2) สตูดิโอที่ใช้ก็แตกต่างกันไปหลายแห่ง
ทั้งในประเทศญี่ปุ่นและยุโรป นั่นทำให้แต่ละเพลงมีคุณภาพเสียงแตกต่างกัน
แม้จะไม่มากนัก แต่หากฟังเปรียบเทียบก็จะสามารถตรวจพบความแตกต่างได้
ส่วนจะสรุปว่าเป็นที่ฝีมือของซาวนด์เอ็นจิเนียร์ หรือสถานที่ที่ต่างกัน
ก็คิดว่าสรุปได้ยาก อย่างเช่น ถ้าจะพิจารณาเฉพาะเพลงที่ Yoshinori Waraya บันทึกและมิกซ์แต่ใช้สตูดิโอคนละแห่งเทียบกันก็พบว่าให้เสียงที่ต่างกันเหมือนกัน
ตัวอย่างเช่นแทรคที่ 5 เพลง Across
The Universe กับแทรคที่ 6 เพลง Come Together ซึ่งแทรคที่ 5 นั้นบันทึกเสียงที่ Kioicho Studio ส่วนแทรคที่ 6 บันทึกและมิกซ์เสียงที่ MIT Studio คุณภาพเสียงที่ออกมาก็ต่างกันพอฟังออกได้ แทรคที่ 6
นั้นให้บรรยากาศของเสียงดีกว่า เสียงโดยรวมมีความผ่อนคลายมากกว่า
มูพเม้นต์ของเสียงร้องและเสียงดนตรีแต่ละชิ้นมีไทมิ่งที่ตรงตามธรรมชาติมากกว่า
ในขณะที่แทรค 5 รู้สึกได้ว่าหางเสียงไม่ทอดไปไกลเท่า
ฮาร์มอนิกของทุกเสียงมีลักษณะที่สั้นและด้วนกุด
เป็นไปได้ว่าในสตูดิโอมีการซับเสียงมากไป หรือไม่ก็ถูกฟิลเตอร์ปลายเสียงในขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่ง
ทำให้ได้ตัวเสียงที่ชัดจริง แต่ขาดความกังวานของหางเสียงที่ควรจะสมบูรณ์มากกว่านี้
แอมเบี๊ยนต์จึงน้อยไปหน่อย ฟังแล้วแห้งๆ ไม่ฉ่ำ
แทรคที่สองบันทึกและมิกซ์เสียงออกมาได้ดีมาก
โดยเฉพาะการจัดวางคอมโพสิชั่นของรูปวงซาวนด์สเตจที่สมดุลและให้มิติด้านลึกได้ดีกว่าทุกแทรคในอัลบั้มนี้
ชิ้นดนตรีทั้งหมดถูกเกลี่ยไปในอากาศวางตำแหน่งรูปวงที่เป็นสามมิติ มีทั้งกว้าง สูง
และลึก ถ่ายทอดอารมณ์ที่ลึกลับของเพลงออกมาได้อย่างตรงเป้าประสงค์มาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น